วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เพื่อน

ฉันแบ่งเพื่อนอยู่  3  ระดับ
ระดับแรก   เพื่อน  คือ คนรู้จัก
ระดับสอง  เพื่อน  คือ เพื่อนรัก
ระดับสาม  เพื่อน  คือ ครอบครัว

การเรียนรู้ที่ 4 การสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม

ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
บทบาทและส่วนร่วมในการสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความความเท่าเทียมกันในสังคม


 ในยุคปัจจุบันที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญกับกระแสสิทธิมนุษยชนและกระแสประชาธิปไตย คนทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในสิทธิที่ตนเองควรจะได้รับ ตั้งแต่แรกเกิดคือสิทธิที่จะต้องอยู่รอด สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและฝึกอบรมที่สอดคล้องกับสภาพวิวัฒนาการของสังคมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ความรู้คืออำนาจ การเรียนรู้จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อคนทุกคนอย่างทวีคูณ ผู้ที่เข้าถึงความรู้ได้มากกว่าจึงได้เปรียบคนที่เข้าถึงความรู้ได้น้อยกว่า ผู้คนทั่วโลกมีความต้องการการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการประชุมการศึกษาโลกที่เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยมีการเสนอจุดหมายหรือหลักชัย (Goals) 6 ข้อ ซึ่งจุดหมายทั้งสามข้อใน 6 ข้อนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าประเด็นในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก 
          ก่อนที่เราจะทำให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเสมอภาคทางการศึกษานั้น การมีความเข้าใจแนวคิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่ตรงกันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ในบทความนี้ผมขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นฐานในการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในภาพรวมระดับประเทศ 
และระดับสถานศึกษา 


2.       หลักการของความเป็นธรรมในสังคม


เพื่อนหลายสาขาอาชีพได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องความเป็นธรรมในสังคมการทำงาน หลากหลายความคิดเห็นเหล่านั้น ส่วนใหญ่มีความคิดสอดคล้องกัน ที่รวบรวมนำเสนอนี้เป็นเพียงบางส่วนหนึ่งเพื่อรับรู้ว่าในอีกฟากหนึ่งของสังคมเขาคิดอย่างไรกัน
"เมื่อบุคคลหลายคนในหน่วยงานใดร่วมกันกระทำบางสิ่งบางอย่างอันขัดกับมโนธรรม หรือความยุติธรรม หาประโยชน์เพื่อตนเอง หรือผู้อื่น เกื้อหนุนพวกพ้องเดียวกัน พยายามหาช่องทางให้ผู้มีอำนาจแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าจะในด้านผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับการเงิน หรือทางด้านบุคลากร โดยไม่มองถึงความเป็นธรรมหรือหลักการที่ถูกต้อง คนเหล่านี้เมื่อรวมกันเข้าจะกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่น่าสะพึงกลัว
เขาคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เขาไม่ได้เสแสร้ง แต่มันเป็นเบื้องลึกของจิตใจเขาจริง ๆ เขาเห็นว่าการสร้างช่องทางให้ผู้มีอำนาจได้ใช้ประโยชน์ส่วนตนจากกระบวนการต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ผู้ที่คิดต่างกับพวกเขาแม้จะคิดในแนวทางที่ชอบธรรม ก็จะกลายเป็นคนที่คิดผิด ทำผิด ไม่ว่าท่านจะถูกต้องเป็นธรรมเพียงใดก็ตาม เนื่องจากความเป็นธรรมของพวกเขา คือผลประโยชน์ ผลตอบแทน ตำแหน่งหน้าที่ บำเหน็จความดีความชอบ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งก็ดูจะเป็นธรรมสำหรับพวกเขา หากว่าสิ่งที่เขากระทำนั้นอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ความเสมอภาคทางสังคม ไม่ใช่ทำเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใด
การแสวงหาแนวทางที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีอำนาจ จะเป็นหลักการสำคัญของคนกลุ่มนี้ เขาไม่เคยเสียเวลาเหลียวคิดแม้เพียงน้อยนิดที่จะรับรู้ถึงหลักความเป็นธรรมของสังคม ไม่ต้องการรับรู้ว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน บุคคลในองค์กรพึงได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ผู้มีอำนาจไม่สมควรที่จะได้รับอภิสิทธิ์อันไม่ชอบธรรมเหนือผู้ใด เพราะกิจการงานขององค์กร หาใช่กิจกรรมในครอบครัว กลุ่มบุคคลเหล่านี้อาจไม่เคยเหลียวมอง ความถูกต้องที่สังคมโลกกำลังสร้างสรรจรรโลงให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาค
กติกาของสังคมที่ถูกสร้างขึ้นในทุกวันนี้ก็เพื่อป้องกันการใช้อำนาจการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบของผู้มีอำนาจ จะเห็นได้ตั้งแต่กฏบัตรสหประชาชาติ มาจนกฏหมายรัฐธรรมนูญ ของประเทศ ที่พยายามเขียนปิดช่องโหว่ไม่ให้ผู้มีอำนาจได้แสวงหาประโยชน์ส่วนตนจากช่องว่างที่อาจเปิดอยู่ แต่ดูเหมือนว่า ความจริงของสังคมหลายแห่งยังมีผู้กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งมีความคิดสวนทางกับหลักการดังกล่าว เขาพยายามร่วมมือกันหาช่องทางให้ผู้มีอำนาจ อย่างน่าละอายและดูเหมือนว่าการกระทำเหล่านั้นเขาเห็นว่านั่นคือความรู้ความสามารถที่บุคคลอื่นไม่พึงมี ถามว่าเพื่ออะไร คำตอบคือ เขาเหล่านั้นต้องการ ผลประโยชน์ตอบแทนทางตำแหน่งหน้าที่ ความก้าวหน้า ความดีความชอบเป็นบำเหน็จรางวัล อันจะทำให้เขาใช้บำรุงบำเรอชีวิต ประหนึ่งสุนัขไล่งับเศษกระดูกที่มีผู้โยนให้แทะจนบางครั้งถึงกับต้องทะเลาะหรือแว้งใส่กันเอง  และบางทีอาจเกิดจากความกลัวว่าจะไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กลัวจะไม่ได้พิจารณาความดีความชอบอันเป็นธรรม
นั่นย่อมเห็นได้ว่าเขาเกรงว่าเขาจะไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้มีอำนาจ เขาจึงโยนความไม่เป็นธรรมเหล่านั้นไปให้ผู้อื่นหรือสังคม แล้วเขาเหล่านั้นคิดว่าสิ่งที่เขาได้รับนั้นคือความเป็นธรรมนั่นเอง……….ความผูกพันธ์อันดีงามของมนุษยชาติถูกทำลายไปในที่สุด ความเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง ถูกทำลายลงทีละน้อยและหมดสิ้นไป นับวันคนเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละองค์กร เพราะความต้องการเศษเนื้อติดกระดูกที่ถูกยื่นให้ ศักดิ์ศรีความเป็นคนจึงถูกย่ำยีลง ……………………………..
อ่านจบลองเหลียวไปมองดู สังคมในองค์กรของคุณล่ะเป็นแบบไหน

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน


การขาดความเป็นธรรมเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
     2."ช่องว่าง"    ภาพมหาภาคของความไม่เป็นธรรม   ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย  หรือระหว่างคนข้างล่างกับคนข้างบน  คือ  ภาพสะท้อนมหภาคของความไม่เป็นธรรม  เราเป็นคนเหมือนกันควรจะมีศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นคนเหมือนกัน   แต่ทำไมจึงแตกต่างกันมากเหลือเกินระหว่างคนข้างล่างที่ปากกัดตีนถีบไม่พอที่จะเลี้ยงลูก  กับคนข้างบนที่อาจมีรายได้เป็นล้านๆ  บาทต่อเดือน  เรามีปัญหาความไม่เป็นธรรมทุกด้าน  ทั้งทางเศรษฐกิจ  ทางสังคม  ทางกฎหมายและการเข้าถึงทรัพยากร  เรารู้หรือไม่ว่ากฎหมายและการประยุกต์ใช้กฎหมายมีอคติต่อคนจน  ความขัดแย้งทั่วแผ่นดินเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรที่รัฐไม่อำนวยความเป็นธรรม
     3.ตัวอย่างและรายละเอียดบางประการของความไม่เป็นธรรม-ความไม่เป็นธรรมมีอยู่ในทุกเรื่อง  แต่เราอาจจะไม่เห็นเพราะความซับซ้อนของมัน  อย่างเรื่องระบบบริการสุขภาพที่เรามีโครงสร้างค่อนข้างทั่วถึง  แต่ถ้าเอาเรื่อง  "ช่องว่าง"  เข้ามาจับก็จะเห็นความไม่เป็นธรรม  เช่น  ลูกคนจนยังตายมากกว่าคนรวยถึง  3  เท่า  คนจนตายจากเรื่องที่ไม่ควรตายมากกว่าคนรวยเรียกว่าความตายที่ไม่เป็นธรรม  การค้าเสรีและนโยบาย  Medical  Hub  ที่ดึงเอาคนต่างชาติเข้ามารับบริการในเมืองไทยทำให้คนพวกหนึ่งร่ำรวยขึ้น  แต่มันได้ดึงแพทย์และพยาบาลออกมาจากการบริการคนจนในชนบท 
ภายใต้สิทธิธรรมของการค้าเสรีที่อนุญาตให้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ทุนหนาเข้าไปตั้งในชุมชนได้ทำลายอาชีพของรายเล็กรายน้อยในชุมชนนั้นไม่เป็นจำนวนมากกว่าจำนวนคนที่จ้างงานในศูนย์การค้าขนาดใหญ่  ตามชายฝั่ง  เช่น  ที่จังหวัดตรัง  จังหวัดปัตตานี  ชาวประมงที่ยากจนเคยหาเลี้ยงชีพด้วยการจับสัตว์น้ำ  แต่เมื่อนายทุนเอาเรือขนาดใหญ่พร้อมทั้งอวนลากที่ใช้เครื่องจักรมาลากกวาดเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปสร้างความร่ำรวย  ทั้งๆ  ที่ผิดกฎหมาย  คนจนหมดอาชีพลง  ไปร้องเรียนต่อรัฐก็ไม่ได้ผล  ความไม่เป็นธรรมสะสมความแค้นไว้ในจิตใจของผู้คนจนปะทุออกมาเป็นความรุนแรงก็มี  การใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมคือสาเหตุของความขัดแย้งใหญ่ในบ้านเมือง  รวมทั้งความขัดแย้งทางการเมือง
    

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง


    ลองจับเรื่องอะไรก็จะเห็นความไม่เป็นธรรมในเรื่องนั้นทั่วไปหมด  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตำรวจ  เรื่องการศึกษา  เรื่องการสื่อสารหรือเรื่องการพัฒนา  การพัฒนาในช่วง  50  ปีที่ผ่านมาทำให้ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยถ่างมากขึ้น  (ไปดูตัวเลขของสภาพัฒน์ได้)  เพราะการพัฒนาที่ผ่านมาโดยสรุปคือ  การไปเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ  ที่เป็นประโยชน์ต่อคนข้างล่างทั้งหมดให้มาเป็นเงินของคนส่วนน้อย  ช่องว่างที่ถ่างมากขึ้นนำไปสู่ปัญหาต่างๆ  ทั้งทางเศรษฐกิจ  จิตใจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  และการเมือง  โดยสรุป  วิกฤตการณ์เกิดจากการขาดความเป็นธรรมของการพัฒนา
     รัฐประสบความล้มเหลวในการสร้างความเป็นธรรม   หรือเป็นตัวการให้ขาดความเป็นธรรม  เพราะการขาดธรรมาภิบาลภาครัฐ  ถ้าคณะกรรมการขององค์กรขาดธรรมาภิบาลเกิดอะไรขึ้น  เราจะมองเห็นภาพไม่ยาก  ถ้าบอร์ดการบินไทยขาดธรรมาภิบาลจะเกิดอะไรขึ้น  ถ้าบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทยขาดธรรมาภิบาลจะเกิดอะไรขึ้น  ถ้าบอร์ดของรัฐวิสาหกิจอื่นๆ  ขาดธรรมาภิบาลจะเกิดอะไรขึ้น  ยิ่งกว่านั้นถ้าการเมืองการปกครองขาดธรรมาภิบาล  ประเทศมิล่มสลายหรือ

การเรียนรู้ที่ 15 การจัดการกับความซับซ้อนของโลก


ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
การจัดการกับความซับซ้อนของโลก
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความซับซ้อนของโลก 
เราต้องเข้าใจว่าคนที่ยึดถือแนวเสรีนิยมในยุคนั้นคือคนสมัยใหม่ก้าวหน้า ที่กำลังสู้กับระบบเก่า แต่พอชนชั้นนายทุนสถาปนาตนเองเป็นเป็นชนชั้นปกครอง และระบบทุนนิยมครอบงำโลกได้ กระแสคิดหลักของนายทุนก็เปลี่ยนไปเป็นการปกป้องอำนาจและผลประโยชน์ของเขา คือเขากลายเป็นคนอนุรักษ์นิยมนั้นเอง
2.       หลักการจัดการกับความซับซ้อนของโลก
.สรุปแล้วความขัดแย้งในวิกฤตการเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่ระหว่างกลุ่มชนชั้นนำที่ใช้เสรีนิยม กับกลุ่มชนชั้นนำที่อยากปิดประเทศและหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคก่อนโลกาภิวัตน์แต่อย่างใด แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างอำมาตย์อนุรักษ์นิยมที่ต้องการปกครองประชาชน โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอะไรเลย ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ กับนักการเมืองนายทุนที่ทำแนวร่วมประชาธิปไตยกับพลเมืองส่วนใหญ่ผ่านการพัฒนาสังคม
พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นทั้งพรรคเสรีนิยม และพรรคอนุรักษ์นิยมได้ และนักวิชาการเสรีนิยมในไทยเป็นพวกที่สนับสนุนอำมาตย์กับเผด็จการ

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
ในปัจจุบัน แนวคิดเสรีนิยมกลายเป็นแนวที่ต่อต้านการใช้รัฐ เพื่อสร้างสวัสดิการและความเป็นธรรมสำหรับส่วนรวม ซึ่งเป็นกระแสหลักในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เสรีนิยมที่รื้อฟื้นขึ้นมานี้เป็นแนวคิดที่เน้นสิทธิปัจเจกของคนรวยและนายทุน เหนือสิทธิของคนธรรมดาที่มาจากการเน้นผลประโยชน์ส่วนรวม เสรีนิยมใหม่หรือ Neo-liberalism คือลัทธิของคนที่เน้นการค้าเสรี การขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน และการยกเลิกรัฐสวัสดิการ เช่นพรรคอนุรักษ์นิยมในอังกฤษและส่วนอื่นของยุโรปและในสหรัฐ ในทศวรรษ 1980 (ยุค Thatcher กับ Reagan) พวกนี้นอกจากจะเน้นความ ศักดิ์สิทธิ์ของกลไกตลาดและความจำเป็นที่จะลดบทบาทรัฐแล้ว เขาพร้อมจะรับแนวคิด มือใครยาวสาวได้สาวเอาแล้วยังอ้างว่าการลดบทบาทรัฐในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้มี ประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันเป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพของคนทำงานซึ่งต้องการให้รัฐปกป้องความเสมอภาคในสังคม

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง

เมื่อไม่นานมานี้มีคนตั้งคำถามสำคัญท้าทายกับผมว่าทำไมถึงเสนอว่าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคอำมาตย์ เป็นพรรคเสรีนิยม?” ผมจะพยายามตอบในบทความนี้
แนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) เป็นทั้งแนวคิดทางการเมืองและเศรษฐศาสตร์พร้อมกัน แยกออกจากกันไม่ได้ จุดเริ่มต้นของแนวนี้คือการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนายทุน กับชนชั้นขุนนางอนุรักษ์นิยมในยุโรป ในสมัยปฏิวัติ อังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17-18
ในยุคนั้นพวกขุนนางอนุรักษ์นิยมสามารถผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจ ผ่านการถือตำแหน่งในรัฐ และสามารถควบคุมอำนาจทางการเมืองผ่านเผด็จการ ดังนั้นแนวคิดของชนชั้นนายทุน ซึ่งเป็นชนชั้นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาและท้าทายขุนนางอนุรักษ์นิยม จะเสนอว่าต้องมีประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน และต้องทำลายการผูกขาดระบบเศรษฐกิจของรัฐโดยการใช้กลไกตลาดเสรีและการค้าเสรี
นักคิดสำคัญๆ ของแนวเสรีนิยมนี้มีอย่างเช่น John Locke, de Tocqueville, James Mill และเขามักจะเน้นเรื่อง ประชาธิปไตยเสรีภาพปัจเจก กับสิทธิในทรัพย์สินปัจเจก เพื่อเผชิญหน้ากับรัฐเผด็จการของขุนนาง ส่วน Adam Smith จะเน้นเรื่องความสำคัญของกลไกตลาดเสรีเพื่อต้านการผูกขาด แต่ ประชาธิปไตยของเขาไม่ใช่ประชาธิปไตยที่พลเมืองชายหญิงทุกชนชั้นจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน อย่างที่เราเข้าใจในยุคนี้ มันเป็นการเน้นสิทธิเสรีภาพของนักธุรกิจและชนชั้นกลางเพศชายมากกว่า สิทธิในทรัพย์สินคือสิทธิของนายทุนที่จะจ้าง (และขูดรีด) แรงงาน และสำหรับ Smith การใช้กลไกตลาดมีเป้าหมายในการทำลายอำนาจผูกขาดของขุนนาง ในขณะเดียวกัน Smith เน้นว่าระบบเศรษฐกิจที่พึงปรารถนา จะมีความเป็นธรรมสำหรับคนจนด้วย ไม่ใช่ระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาแต่ลูกศิษย์ Smith ในยุคนี้มักจะลืมประเด็นสำคัญอันนี้

การเรียนรู้ที่ 14 การพึ่งพาอาศัยกัน


ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความเข้าใจ ตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ
    คำว่า “โลกาภิวัตน์” หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก (ของข่าวสาร) การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดสามารถรับรู้ สัมผัส หรือ รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง สืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ ดังนั้นยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) ที่ไร้พรมแดน อันเป็นยุคที่มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารและคมนาคม ทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น กระแสโลกทั้งในรูปของทุนและข้อมูล รวมทั้งค่านิยมบางประการ เช่น สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ได้ขยายตัวครอบคลุมไปทั่วโลก 
2.       หลักการจัดการให้ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ เป็นไปอย่างสมดุล
 ลักษณะสำคัญของโลกาภิวัตน์ จึงเป็นความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายกิจกรรม
การดำเนินงาน ซึ่งแต่เดิมอาจจะผูกขาดอยู่ ณ ศูนย์หรือแหล่งไม่กี่แห่งในโลก ออกไปยังท้องถิ่นหรือศูนย์ใหม่ๆ หลากหลายมากขึ้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สังคมยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นโลกที่มนุษย์สามารถข้ามพรมแดนของประเทศและสามารถทะลุกาลเวลาได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่ไร้พรมแดน โลกในสายตาของผู้ที่อาศัยเทคโนโลยี จึงเป็นโลกใบเล็กที่สามารถติดต่อถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว
       
           ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลก มีผลทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลง ดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดต่อกันได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีประดุจเป็นหมู่บ้าน (Global Village) ภูเขาและทะเล ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติ ที่เคยเป็นอุปสรรคในการติดต่อไปมาหาสู่ ดูเสมือนเลือนหายไปจนกลายเป็นโลกไร้พรมแดน 
3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
เกิดการเพิ่มขึ้นของแรงงานด้านข่าวสาร จำนวนแรงงานที่ทำงานเกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แรงงานเหล่านี้ได้แก่ผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษา การคมนาคม การพิมพ์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่อสารมวลชน ทุกประเภท การเงิน การบัญชี รวมทั้งอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์หรือชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และงานที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาจัดการกับ ข่าวสารทุกชนิด

       เกิดการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าทำให้โลกตะวันตกมั่งคั่งร่ำรวย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดเป็นแรงกระตุ้นให้มีการวิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาค้นคว้าหาข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างไม่หยุดยั้ง สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีสื่อสารอันทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลใหม่ ๆ หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

          ระบบเศรษฐกิจประสานเป็นหนึ่งเดียว ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ระบบเศรษฐกิจจะมีการประสานเป็นหนึ่งเดียว ทำให้พรมแดนแต่ละประเทศไม่อาจขวางกั้นพลังทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจยังได้เปลี่ยนรากฐานจากระบบอุตสาหกรรมมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบฐานข่าวสาร (Information based economy) ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิต การจัดการ และเผยแพร่ข่าวสาร ข่าวสารกลายเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ตัวอย่างธุรกิจชนิดนี้ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรคมนาคม วิทยุ โทรทัศน์ การพิมพ์ โทรศัพท์ หนังสือ วารสาร เป็นต้น ข่าวสารกลายเป็นเรื่องสำคัญและเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ผู้ต้องการใช้ข่าวสารต้องเสียค่าใช้จ่าย ข่าวสารกลายเป็นแหล่งทุน และเป็นบ่อเกิดของการว่าจ้างแรงงาน
4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง


      ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งมีข้อมูลข่าวสารเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสินค้า จากการผลิตที่เหมือนกันในปริมาณที่เป็นจำนวนมาก มาเป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมในการผลิต โดยมีลักษณะการใช้งานเฉพาะ ซึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตสั้นกว่า สิ้นเปลืองน้อยกว่า จะเข้ามาแทนที่ เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอาจได้รับการผลิตในประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน แล้วนำมาประกอบในประเทศที่ 5 แล้วส่งขายไปทั่วโลก ซึ่งเป็นลักษณะของการเกิดบริษัทข้ามชาติทุนข้ามชาติ ที่เข้าไปเสาะแสวงหาผลกำไร อย่างไร้พรมแดนในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก แล้วกำไรเหล่านั้น ถูกส่งไปพัฒนา หรือถูกส่งไปยังบริษัทใหญ่ในประเทศแม่ เป็นแบบฉบับธุรกิจโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีผลทำให้ธุรกิจ การเงิน หลักทรัพย์ ธนาคาร ประกันภัย ต้องปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์ด้วย การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนระบบการผลิตมาเป็นการผลิตอย่าง ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ระบบการเงินก็จะต้องปรับมาบริการแบบ 24 ชั่วโมงด้วย กระแสเงินตราต่าง ๆ ได้ผ่านเข้าออกธนาคารตลอดเวลาในช่วงเวลาที่วัดกันเป็นเสี้ยววินาที โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอัตราเร็วนี้คือความสามารถที่จะก้าวล้ำหน้า ทำให้มีผลต่อการกระจายอำนาจและผลกำไรอย่างมากมาย นอกจากนั้น กระแสการแข่งขันด้านการค้าและการแสวงหาตลาดได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสภาพข้ามชาติอย่างแท้จริง การค้าและช่องทางการเข้าสู่ตลาดโลกมิอาจดำเนินไปในรูปแบบที่เรียกว่า ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ที่เคยเป็นลักษณะหนึ่งของการแข่งขัน เพื่อผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์ในอดีต การดำเนินกิจกรรมทางการค้าได้พัฒนาซับซ้อนและมีกลไกมีวิธีการหลากหลายมากขึ้น ในยุคนี้จะได้เห็น “การทูตแผนใหม่” (New Diplomacy) ที่มุ่งไปที่พันธมิตรทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม แทนการใช้ระบบการเมืองดังที่เคยปรากฏในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
          ผลกระทบด้านการเมือง
          เกิดความรู้สึกท้องถิ่นนิยม (Localism) กระแสโลกาภิวัตน์สร้างความรู้สึกท้องถิ่นนิยมแทนที่อุดมการณ์ชาตินิยม เนื่องจากสังคมยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคแห่งข่าวสาร ซึ่งประชาชนใน ท้องถิ่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนของตนได้อย่างรวดเร็วจากสื่อมวลชน ทำให้เกิดการปลุกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่น ให้รู้จักเห็นคุณค่าอนุรักษ์ รักษา และหวงแหนทรัพยากรภายในท้องถิ่นของตน พร้อมทั้งตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลกลาง หากรัฐบาลกลางหวังจะตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่นโดยไม่โปร่งใส ก็จะถูกต่อต้านจาก ประชาชนในท้องถิ่น ดังที่เราได้พบเห็นที่กลุ่ม ประชาชน ออกมาเรียกร้อง สิทธิ ความเสมอภาคต่างๆ  

การเรียนรู้ที่ 13 ผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกิจกรรม
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกิจกรรม
   หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551  ได้กล่าวถึง การสร้างนักเรียนให้เป็นพลโลก  หรือพลเมืองโลก (Global Citizen)  ไว้ในวิสัยทัศน์ของหลักสูตร  ดังนี้  “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน  ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย  ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็น พลเมืองไทย และเป็นพลโลก  ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีความรู้และทักษะพื้นฐาน  รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า  ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
2.       หลักการป้องกันผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกิจกรรม
1. เคารพกฎหมายและปฎิบัติตามกฎระเบียบ  ข้อบังคับของสังคม
เมื่อพลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน  ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ
นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน
2.เป็นผู้มีเหตุผล  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทุกคนย่อมมีอิสระเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน  ซึ่งการรู้จักการใช้เหตุผลในการดำเนินงาน จะทำให้ช่วยประสาน
ความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีงามต่อกัน
3.ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ เมื่อมีความขัดแย้งกันในการดำเนินกิจกรรมอันเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  และจำเป็นต้องตัดสินปัญหาด้วยการใช้เสียงข้างมากเข้าช่วย และมติส่วนใหญ่ตกลงว่าอย่างไร  ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับความคิดของเรา เราก็ต้องปฎิบัติตาม เพราะเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่นั้น
4.เป็นผู้นำมีน้ำใจประชาธิปไตย  และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมผู้ที่มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะต้องมีความเสียสละ ในเรื่องที่จำเป็น เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย  เป็นการส่งผลต่อความมั่นคง และความก้าวหน้าขององค์กร  ซึ่งสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ดังกล่าวก็ย้อนกลับมาสู่สมาชิกของสังคม  เช่นการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  ถึงแม้ว่าเราจะมีอาชีพบางอย่างที่มีรายได้ตลอดเวลา เช่นค้าขาย แต่ก็ยอมเสียเวลาค้าขายเพื่อไปลงสิทธิ์เลือกตั้ง บางครั้งเราต้องมีน้ำใจช่วยเหลือกิจกรรมส่วนร่วม  เช่น การสมัครเป็นกรรมการเลือกตั้ง   หรือสมาคมบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น
5.เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
ควรรูจักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเช่นบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  การพูด แต่ต้องไม่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นที่ใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียหาย
6.มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม ชุมชน ประเทศชาติ 
ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ย่อมต้องมีการทำงานเป็นหมู่คณะ  จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในงานนั้นๆให้สมาชิกแต่ละคนนำไป
ปฎิบัติตามที่ได้รับหมอบหมายไว้อย่างเต็มที่
7.มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง  การปกครอง
ในสังคมประชาธิประไตยนั้นสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง  เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น
8.มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศษฐกิจ  สังคม  การเมืองการปกครอง
ช่วยสอดส่องพฤติกรรมมั่วสุมของเยาวชนในสถานบันเทิงต่าง  ไม่หลงเชื่อข่าวลือคำกล่าวร้ายโจมตี ไม่มองผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเราเป็นศัตรู  รวมถึงสงเสริมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆด้วยสันติวิธี
9. มีคุณธรรม  จริยธรรม  และปฎิบัติตนตามหลักธรรม ทุกคนควรมีศีลธรรมไว้เป็นหลักในการควบคุมพฤติกรรมของบุคลให้ดำเนินไปอย่างเหมาะสม  ถึงแม้จะไม่มีบทลงโทษใดๆก็ตาม
3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
 สรุป   นักการศึกษาเสนอแนะให้พัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกโดยการพัฒนาหลัก สูตรปลูกฝังให้เยาชนมีความรู้วิชาการ-วิชาชีพ ทักษะชีวิต  มีคุณธรรมและยึดประโยชน์ส่วนรวมในระดับสากล  

สร้างความคิดรวบยอด (Concept) เรื่องพลเมืองโลก ผ่านหลักสูตรสถานศึกษาโดย  บูรณาการกับวัตถุประสงค์ และกิจกรรม CCAD  ดังนี้
-          พลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา
ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่
-          สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น
การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติ อื่นๆ
-          พลโลกจะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกัน
-          โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก
4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง

โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก
สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติอื่นๆ เช่น  CCADพลโลก จะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกันพลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา  ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่

การเรียนรู้ที่ 12 ความหลากหลาย


ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความรู้ความเข้าใจ การยอมรับและตระหนักในความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมความเชื่อและค่านิยม
เนื่องจากแต่ละประเทศ มีลักษณะทางวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันอันนำไปสู่ชนวนการทำสงครามได้       การแก้ไขและป้องก้นความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมคือการหันหน้ามาปรึกษาหารือกัน และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ 

2.       ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ (อังกฤษ: Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (อังกฤษ: Species) สายพันธุ์ (อังกฤษ: Genetic) และระบบนิเวศ (อังกฤษ: Ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น
ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง(อังกฤษ: vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995)
ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึงหนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน
ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (อังกฤษ: environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
สภาวะวิกฤตของภาษากลุ่มชาติพันธุ์ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ภาษาแต่ละกลุ่มล้วนมีคุณค่าเป็นมรดกของมนุษยชาติ เนื่องจากเป็นระบบสื่อสารที่สร้างขึ้นมาจากภูมิปัญญาเฉพาะของแต่ละกลุ่ม เพื่อวิถีการดำรงชีวิต ที่ใช้อย่างต่อเนื่องกันมาเป็นร้อยเป็นพันปี ภาษาจีนเป็นระบบคิด ระบบความคิดความเข้าใจในโลกและสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งเก็บภูมิปัญญาด้านต่างๆ รวมทั้งเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมหรือความเป็นตัวตนของแต่ละกลุ่มแต่อย่างไรก็ตามในโลกปัจจุบันภาษาต่างๆ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กลุ่มชาติพันธุ์ภาษาต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากโลกาภิวัตน์ ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งมีอิทธิพลจากโลกตะวันตกได้มีการแพร่ขยายอย่างไว้พรมแดน ด้วยอำนาจและความเจริญด้านการสื่อสารมวลชนที่ทรงพลัง ทำให้สามารถเข้าถึงในเกือบทุกพื้นที่แม้ในเขตห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ (ในบางพื้นที่)โดยใช้ภาษาใหญ่ระดับชาติเช่น ภาษาราชการหรือ ภาษานานาชาติ (ภาษาอังกฤษ) ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จำนวนมากจึงอยู่ในภาวะถดถอย วิกฤตและอาจสูญสิ้นไป สภาวะการดำเนินชีวิตด้านการในภาษาที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่· โอกาสของอาชีพการงาน ทำให้ทุกคนต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาสำคัญภาษาใหม่ๆ เช่น ภาษาราชการ ภาษาประจำชาติหรือภาษานานาชาติ (อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ)· การทำงานตามแหล่งงานนอกชุมชน ทำให้มีการใช้ภาษากลางมากขึ้น และใช้ภาษาท้องถิ่นน้อยลง· การแต่งงานเข้ากลุ่ม ทำให้ความเข้มข้นการใช้ภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ลดลง

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
1. ความแตกต่างทางเชื้อชาติ
     เผ่าพันธุ์ และศาสนา ย่อมมีวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน เช่น การแต่งกาย การกินอยู่ พิธีกรรม จึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
2. ลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์
     ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ย่อมทำให้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มจะมีลักษณะการกินอยู่ ประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่างกันไปจากคนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงหรือเขตทะเลทราย
3. รูปแบบทางเศรษฐกิจ
     สภาพทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ลักษณะงาน และการทำงาน จะทำให้มีความเชื่อและค่านิยมที่แตกต่างกันออกไปดังเช่นคนที่มีความคิดแบบตะวันตก นิยมใช้เทคโนโลยีจะแตกต่างกันกับการดำรงชีวิตแบบเกษตรกรรมหรือพึ่งพาธรรมชาติ 

การเรียนรู้ที่ 11 ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้


ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความสามารถในการประเมินคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับโลก และผลกระทบต่อเจตคติและค่านิยมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความสำคัญและค่านิยมด้านสิทธิมนุษย์ชน
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับโลก

  ค่านิยมไทยใหม่จะมีลักษณะสากลมากขึ้น เช่น นิยมยกย่องวัตถุ ความมั่นคง ความหรูหราฟุ่มเฟือย ความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ยึดมั่นในประเพณี ชื่นชมวัฒนธรรมตะวันตก และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือ อำนาจและเกียรติยศชื่อเสียง การดูแลรักษาสุขภาพด้วยโภชนาการ และการออกกำลังกาย
        การรับรู้/การสัมผัสรู้เป็นปัจจัย 1 ใน 3 ปัจจัยการรู้ (awareness) ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค การรับรู้/การสัมผัสรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการที่บุคคลมีการมองเห็นหรือพิจารณาเกี่ยวกับตนเองและโลกของบุคคลว่าเป็นอย่างไร ซึ่งการรับรู้เป็นปัจจัยหนึ่งที่แยกออกไปไม่ได้จากพื้นฐานอื่นๆ เนื่องจากความต้องการของบุคคลและแรงจูงใจต่างๆ คือสิ่งที่บุคคลได้รับรู้และทำให้บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งก็เพราะบุคคลมีการรับรู้/การสัมผัสรู้ที่แตกต่างกัน แะนั้นในบทนี้จึงเป็นเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นผลมาจากการรับรู้/การสัมผัสรู้ ซึ่งจำเป็นต้องทราบตั้งแต่ความหมาย ผลกระทบของการรับรู้ที่มีต่อการตลาด คุณลักษณะของการรับรู้ที่มีผลต่อผู้บริโภค แนวความคิดที่สำคัญที่ว่าด้วยการเลือกสรรสิ่งที่ได้รับรู้ ตลอดทั้งกระบวนการรับรู้ของผู้บริโภค และปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคอันจะเป็นประโยชน์ต่อนักการตลาดที่จะได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละคนที่แตกต่างกันเพื่อนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้ดียิ่งขึ้นได้

2.       หลักการ ประเมินคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับโลก และผลกระทบต่อเจตคติและค่านิยมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความสำคัญและค่านิยมด้านสิทธิมนุษย์ชน
ค่านิยมและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ได้กำหนด จะช่วยกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรม และการตัดสินใจขององค์กร โดยผู้นำระดับสูงควรสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ มีการพัฒนาและเรียนรู้ มีนวัตกรรม รวมถึงยอมรับการเปลี่ยนแปลง

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
        ค่านิยมของคนสมัยนี้เปลี่ยนไปจากก่อนมากเพราะคนสมัยนี้ไม่รู้จักรักนวลสงวนตัวเหมือนสมัย ทำให้ผลตามมาหลายประการดังที่เห็นในข่าวว่าคลิปหลุดอะไรต่างๆนานา

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
    การมีคลิปออกมาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการทำให้เสียหายและอาจก่อให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ทำให้พ่อแม่เสียใจ อนาคตดับสิ้น เราควรคำนึงถึงความถูกต้อง